ออกศึกษาสังเกตโรงเรียนเกษมพิทยา

วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่17


วัน อาทิตย์ ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2554



สอบ สาธิตการสอนคณิตศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้สื่ออะไรก็ได้
ให้นำไปเชื่อมโยงกับคณิตศาสตร์
เรื่อง รูปเขคณิต

1. ขอบข่ายคณิตศาตร์
  • รูปเลขาคณิต คือ รูปวงกลม รูปสี่เหลี่ยม รูปสามเหลี่ยม
  • ขนาด คือ ใหญ่ กลาง เล็ก

  • นับจำนวน คือ จำนวนรูปเลขาคณิต จำนวนสมาชิกใน
  • เปรียบเทียบ คือ ขนาด รูปจัดกลุ่ม แยกประเภท คือ สี ขนาด รูป

2. วิธีสอน

ขั้นนำ
  • ร้องเพลง 1 2 3 1 2 3 เพลงเก็บเด็ก
  • แจกรูปเลขาคณิตให้เด็ก คนละ 1 ชิ้น ให้เด็กๆส่งต่อๆกันไปจนถึงคนสุดท้าย

ขั้นสอน

  • ครูจะร้องเพลง ลมเพลมพัด ให้เด็กทำตามคำสั่งที่ครูบอก เช่น ให้จัดกลุ่มที่มีรูปเลขาคณิตเหมือนกัน
  • ครูให้เด็กนับจำนวนสมาชิกในกลุ่มของตนเอง

  • ครูให้เด็กเปรียบเทียบขนาดของรูปเลขาคณิต (ต้องมีตารางเปรียบเทียบให้เด็กเห็นได้ชัดเจน)

  • ให้เด็กนำรูปเลขาคณิตมาวางต่อๆกันตามจิตนาการของเด็กๆ

  • ให้เด็กเก็บรูปเลขาคณิตให้เรียบร้อย ตามลำดับก่อนหลัง

ขั้นสรุป

  • ครูและเด็กๆช่วยกันสรุป เรื่องที่เรียนมีอะไรบ้าง

  • สรุปเป็น Mind Map ลงบนกระดาด

ข้อเสนอแนะจากอาจารย์ผู้สอน

  • ไม่ควรให้เด็กลุกขึ้นมาหยิบรูปเลขาคณิตเอง ทำให้เกิดความวุ่นวายครูจะครบคุมเด็กไม่ได้ ควรส่งต่อๆกัน
  • ควรมีตารางเปรียบเทียบขนาด ที่จัดเจนเด็กจะได้รูปว่ารูปเลขาคณิตของตัวเองมีขนาดไหน



จับกลุ่มที่มีรูปเลขาคณิตเหมือนกัน



เปรียบเทียบขนาดของรูปเลขาคณิต




นับจำนวนรูปเลขาคณิต





บันทึกครั้งที่16



วัน พฤหัสบดี ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554


อาจารย์สอนเกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก ซึ่งการเรียนรู้ของเด็กนั้นโดยการใช้ประสาทสัผัสทั้ง 5 ผ่านการกระทำ และ การเล่นก็เป็นวิธีการเรียนรู้อีกอย่างหนึ่ง ซึ่งก่อนที่เด็กจะทำแบบฝึกหัดได้นั้นควรให้เด็กได้เห็นของจริง ครูควรกระตุ้นเด็กอยู่เสมอเพื่อให้เด็กได้สนุกสนานในการทำกิจกรรมโดยการใช้คำถาม และอาจารย์ได้สาธิตในการนำสื่อมา เช่น ปากกา 5 ด้าม ในการเรียนรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์นั้นเราต้องนำมาให้เด็กได้นับ 1-5 ซึ่งนับทีละด้าม
  • อาจารย์นัดสอบ ให้นำสื่ออะไรก็ได้มาสาธิตการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

บันทึกครั้งที่15

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2554

วิเคราะห์สื่อเกมการศึกษาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

  • เกม จับคู่ปลา วิธีการเล่น จับคู่จำนวนปลาตามที่กำหนด ขอบข่าย นับจำนวน จับคู่ แยกประเภท

  • เกมอุปกรณ์เครื่องใช้ วิธีการเล่น จับกลุ่มสิ่งของ ประเภทเดียวกัน ให้สมบูรณ์ ขอบข่ายคณิตศาสตร์ แยกประเภท จัดกลุ่ม นับจำนวน

  • เกม จับคู่ภาพสัตว์ วิธีการเล่น โดยให้หาภาพส่วนบน ส่วนล่างของสัตว์สมบูรณ์ ขอบข่ายคณิตศาสตร์ จับคู่ นับจำนวน แยกประเภท

  • เกมจิ๊กซอหน่วยฝนจ๋า วิธีการเล่น ต่อภาพให้สมบูรณ์ ขอบข่ายคณิตศาตร์ นับจำนวนของภาพ

  • เกม จิ๊กซอหน่วยดอกไม้ วิธีการเล่น นำภาพมาต่อกันให้สมบูรณ์ ขอบข่ายคณิตศาสตร์ นับจำนวน

วิเคราะห์ขอบข่าย วิธีการเล่น มีการสนทนามีการสนทนาซักถามในห้องเรียน มีเกมการศึกษามากมาย
อาทิเช่นวิเคราะห์สื่อ (เกมการศึกษา)
- เกมจับคู่ภาพสัตว์
- เกมจับคู่รอยเท้า
- เกมต่อจิ๊กซอร์รูปผีเสื้อ
- เกมต่อจิ๊กซอร์รูคนข้ามถนน
- เกมต่อจิ๊กซอร์รูปฝนตก
- เกมต่อภาพจำนวนที่เท่ากัน
- เกมพื้นฐานการบวก
- เกมจับคู่ภาพแบบอุปมาอุปไมย
- เกมจัดหมวดหมู่ภาพ ด้านหน้า ด้านข้าง ด้านหลัง
- เกมจับคู่ภาพซ้อน
- เกมจับคู่ภาพที่แทนด้วยสัญลักษณ์







บันทึกครั้งที่14


วัน พฤหัสบดี ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2554

เรื่อง การจัดกิจกรรมศิลปะโดยการเชื่อมโยงกับคณิตศสาตร์และวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


หลักการที่ต้องการปลูกฝั่งให้แก่เด็ก ผู้สอนควรศึกษาสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ ที่ถูกต้องในกรอบมตราฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อให้เกิดการเข้าใจที่ตรงกัน

อาจารย์ให้นักศึกษาดูตาม Powerpoint เสนอภาพต่างๆให้นักศึกษาได้เห็นถึงการจัดกิจกรรมต่างๆอาทิ เช่น การนำอุปกรณ์ต่างๆมาปั้มให้เกิดเป็นรูปทรงเรขาคณิตและต่อเติมภาพ อุปกรณ์เช่น เหรียญ, หนังยาง, ฝาขวดน้ำดินสอ, ปากแก้ว, ที่มีลักษณะเป็นรูปทรงกลม

ไม้บรรทัด,แปรงลบกระดาน, ยางลบ,ตราปั้ม ที่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม

และรูปทรงอื่นๆ เช่นใบไม้, ดอกไม้, ไม้ไอศกรีม, ฝาจีบน้ำอัดลม, เชือก, หลอด ฯลฯ เป็นต้น

การสาน คือ การนำกระดาษมาตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมยาวผืนผ้าในลักษณะที่เป็นยาวๆเท่าๆกันแล้วนำมาสานขึ้น ลงการพับ

วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่13


วัน พฤหัสบดี 27 มกราคม 2554


  1. อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม 6 กลุ่ม

  2. ให้คิดหน่วยการเรียนรู้กลุ่มละหน่อย

  3. ให้แตกหน่วยเป็น Mind Map

  4. และแตกออกเป็นขอบข่ายของคณิตศาสตร์ไปใช้ในกิจกรรม

  5. ให้คิดกิจกรรมการสอนเป็น 4 วัน

  6. เขียนแผนการจัดประสบการณ์


Mind Map หน่วย ข้าว ขอบข่ายของคณิตศาตร์


ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย

  • การนับ
  • ตัวเลข
  • การจับคู่

  • การคำนวณ

  • การเปรียบเทียบ

  • การจัดลำดับ

  • รูปทรงเเละเนื้อที่

  • การวัด

วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 12


วัน พฤหัสบดี ที่ 20 มกราคม 2554

เรื่องคำศัพท์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เช่น การนับวันที่ เวลาจากตอนเช้า เที่ยง เย็นขนาด เช่น เล็ก ใหญ่ กลาง กว้างรูปร่าง เช่น สูง เตี้ย อ้วน บ้างที่ตั้ง เช่น ก่อนจะถึงบ้านเราสามบ้านเป็นบ้านป้าค่าของเงินความเร็ว เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างเวลากับสิ่งที่ทำ คือ ระยะทางกับเวลาอุณหถูมิ เช่น ร้อน เย็น หนาว อบอุ่นมาตรฐานการวัดในระบบเมตริก

คำศัพท์ที่เด็กควรทราบ ระบบเมตริกที่ใช้ในชีวิตประจำวัน การวัดเครื่องเวลาหลัดสูตรการสอนต้องมีความสมดุลในเรื่องต่อไปนี้

1. เน้นกระบวนการคิดและพัฒนาความคิดรวมยอด

2. เน้นการเรียนรู้ภาษาและการใช้ภาษาพูดที่สัมพันธ์กับกิจกรรมในชีวิตประจำวัน

3. แนะนำคำศัพท์ใหม่และสัญลักษณ์อย่างค่อยเป็นค่อยไป

4. ส่งเสริมให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นและค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อให้ได้คำตอบ

5. ส่งเสริมให้เด็กเกิดการรับรู้สามารถบรรยายและค้นคว้าเพิ่มเติม

6. เน้นให้เด็กเกิดความคิดรวมยอดมีทักษะทางคณิตศาสตร์ไปพร้อมกัน เช่น การทดลองที่เกิดจากการนับจำนวน จากกิจกรรม

7. เปิดโอกาศให้เด็กได้ค้นคว้าสำรวจปฎิบัติรู้จักการตัดสินใจด้วยตนเองหลักการทางคณิตศาสตร์ครูที่ดีนอกจากจะเข้าใจพัฒนาการธรรมชาติของเด็ก การเรียนรู้ของเด็กและขอบข่ายหลักสูตรอย่างลึกซึ้งแล้ว ยังจะต้องเป็นผู้ที่รู้และเข้าใจ

หลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับปฐมวัย

1. สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน

2. เปิดโอกาศให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่ทำให้พบคำตอบด้วยตนเอง

3. มีเป้าหมายและการวางแผนอย่างดี

4. เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้นตอนการพัฒนาความคิดรวมยอดของเด็ก

5. ใช้การจดบันทึกพฤติกรรม เพื่อใช้ในการวางแผนและจัดกิจกรรม

6. ใช้ประโยชน์จากประการณ์เดิมของเด็ก

7. รู้จักใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์

8. ใช้วิธีการสอดแทรกกับชีวิตจริง เช่น เพลง