ออกศึกษาสังเกตโรงเรียนเกษมพิทยา

วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 12


วัน พฤหัสบดี ที่ 20 มกราคม 2554

เรื่องคำศัพท์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เช่น การนับวันที่ เวลาจากตอนเช้า เที่ยง เย็นขนาด เช่น เล็ก ใหญ่ กลาง กว้างรูปร่าง เช่น สูง เตี้ย อ้วน บ้างที่ตั้ง เช่น ก่อนจะถึงบ้านเราสามบ้านเป็นบ้านป้าค่าของเงินความเร็ว เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างเวลากับสิ่งที่ทำ คือ ระยะทางกับเวลาอุณหถูมิ เช่น ร้อน เย็น หนาว อบอุ่นมาตรฐานการวัดในระบบเมตริก

คำศัพท์ที่เด็กควรทราบ ระบบเมตริกที่ใช้ในชีวิตประจำวัน การวัดเครื่องเวลาหลัดสูตรการสอนต้องมีความสมดุลในเรื่องต่อไปนี้

1. เน้นกระบวนการคิดและพัฒนาความคิดรวมยอด

2. เน้นการเรียนรู้ภาษาและการใช้ภาษาพูดที่สัมพันธ์กับกิจกรรมในชีวิตประจำวัน

3. แนะนำคำศัพท์ใหม่และสัญลักษณ์อย่างค่อยเป็นค่อยไป

4. ส่งเสริมให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นและค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อให้ได้คำตอบ

5. ส่งเสริมให้เด็กเกิดการรับรู้สามารถบรรยายและค้นคว้าเพิ่มเติม

6. เน้นให้เด็กเกิดความคิดรวมยอดมีทักษะทางคณิตศาสตร์ไปพร้อมกัน เช่น การทดลองที่เกิดจากการนับจำนวน จากกิจกรรม

7. เปิดโอกาศให้เด็กได้ค้นคว้าสำรวจปฎิบัติรู้จักการตัดสินใจด้วยตนเองหลักการทางคณิตศาสตร์ครูที่ดีนอกจากจะเข้าใจพัฒนาการธรรมชาติของเด็ก การเรียนรู้ของเด็กและขอบข่ายหลักสูตรอย่างลึกซึ้งแล้ว ยังจะต้องเป็นผู้ที่รู้และเข้าใจ

หลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับปฐมวัย

1. สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน

2. เปิดโอกาศให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่ทำให้พบคำตอบด้วยตนเอง

3. มีเป้าหมายและการวางแผนอย่างดี

4. เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้นตอนการพัฒนาความคิดรวมยอดของเด็ก

5. ใช้การจดบันทึกพฤติกรรม เพื่อใช้ในการวางแผนและจัดกิจกรรม

6. ใช้ประโยชน์จากประการณ์เดิมของเด็ก

7. รู้จักใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์

8. ใช้วิธีการสอดแทรกกับชีวิตจริง เช่น เพลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น